ระบบระบายน้ําในงานทางหลวงแบ่งเป็นระบบใหญ่ๆ ได้ 3 ระบบ คือ ระบบระบายน้ํา
ตามยาว (Longitudinal Drain) ระบบระบายน้ําตามขวาง (Cross Drain) และระบบระบายน้ําใต้ดิน
(Sub Drain) โดยแต่ละระบบ มีรูปแบบและรายละเอียดแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการระบายน้ํา
ในส่วนที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
1). ระบบระบายน้ําตามยาว เป็นระบบระบายน้ําที่ออกแบบเพื่อระบายน้ําฝนที่ตกใน
พื้นผิวจราจร และพื้นที่ประชิดเขตทางไปสู่ลําน้ําธรรมชาติ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ําท่วมขังในผิวจราจร
และความเสียหายจากการกัดเซาะลาดข้างทาง ในกรณีถนนผ่านย่านชุมชน ระบบระบายน้ําตามยาวจะ
ออกแบบให้สามารถรองรับส่วนของน้ําทิ้งจากชุมชนประชิดข้างทางด้วย แต่จะไม่รวมน้ําทิ้ง และน้ําเสีย
จากโรงงานและนิคมอุตสาหกรรม หรือ ชุมชน หมู่บ้านขนาดใหญ่ ที่อยู่นอกพื้นที่ประชิด ระบบระบาย
น้ําตามยาว ได้แก่ ระบบระบายน้ําข้างทาง เช่น ท่อกลม ท่อเหลี่ยม รางตื้น รางยู บ่อพัก Curb บนไหล่
ทางช่วงถมสูง Interceptor ช่วงลาดตัดเขา Drain Chute เป็นต้น
2). ระบบระบายน้ําตามขวาง เป็นระบบระบายน้ําที่ออกแบบเพื่อระบายน้ําฝนจาก
พื้นที่รับน้ําฝน (Catchment Area) ที่อยู่ด้านเหนือน้ําซึ่งมีทิศทางการไหลตัดผ่านแนวทางเป็นลําน้ํา
ธรรมชาติ เช่น ลําห้วย ลําคลอง แม่น้ํา หรือ น้ําหลากผ่าน (Flood plain) ซึ่งจะต้องออกแบบอาคาร
ระบายน้ําให้มีขนาดพื้นที่ช่องเปิดที่เพียงพอต่อการระบายน้ําที่มีอัตราการไหลสูงสุดในรอบปีที่ใช้ในการ
ออกแบบโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ําท่วมคันทาง และพื้นที่ด้านเหนือน้ํา อาคารระบายน้ําตามขวาง ได้แก่
ท่อกลม ท่อเหลี่ยม และสะพานเป็นต้น
3). ระบบระบายน้ําใต้ดิน เป็นระบบระบายน้ําที่ออกแบบเพื่อระบายน้ําในชั้นใต้ดินที่
ขังอยู่ในชั้นดินฐานรากและโครงสร้างชั้นทางและทางไหลธรรมชาติของน้ําใต้ดิน เพื่อป้องกันความ
เสียหายของโครงสร้างชั้นทาง และเสถียรภาพของคันทางและลาดข้างทาง รูปแบบและรายละเอียดของ
ระบบระบายน้ําใต้ดิน จะได้กล่าวถึงในหัวข้อ ระบบระบายน้ําใต้ดินต่อไป
ดาวน์โหลดเอกสาร คู่มือการออกแบบ